เมนู

มีความประสงค์จะทำตะกร้า ต้องปาจิตตีย์ ในเพราะตัดเถาวัลย์ คำทั้งหมด
ดังพรรณนามาฉะนี้ พึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.
หลายบทว่า คจฺฉติ วา อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า ภิกษุผู้
แสวงหาสหาย จอบ และตะกร้าได้แล้วอย่างนั้น เดินไปยังที่ขุมทรัพย์ย่อมต้อง
ทุกกฏทุก ๆ ย่างเท้า. ก็ถ้าว่า เมื่อเธอเดินไป เกิดกุศลจิตขึ้นว่าเราได้ขุมทรัพย์
นี้แล้ว จักทำพุทธบูชา ธรรมบูชา หรือสังฆภัต ดังนี้แล้ว ไม่เป็นอาบัติ
เพราะเดินไปด้วยกุศลจิต.
ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่เป็นอาบัติ.
แก้ว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า ภิกษุมีไถยจิต เที่ยว
แสวงหาเพื่อนก็ตาม แสวงหาจอบหรือตะกร้าก็ตาม เดินไปก็ตามต้องอาบัติ
ทุกกฏ ดังนี้ จึงไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่มีไถยจิตในที่ทั้งปวง เหมือนในการ
เดินไปยังที่ขุมทรัพย์นี้ ฉะนั้น. ภิกษุแวะออกจากทาง แล้วทำทางไว้เพื่อ
ต้องการเดินไปยังขุมทรัพย์ ตัดภูตคามต้องปาจิตตีย์ ตัดไม้แห้งต้องทุกกฏ.
สองบทว่า ตตฺถ ชาตกํ คือ ที่เกิดอยู่บนหม้อ ซึ่งตั้งไว้นานแล้ว.
สองบทว่า กฏฺฐํ วา ลตํ วา ความว่า หาใช้ตัดเฉพาะไม้และ
เถาวัลย์อย่างเดียวเท่านั้นไม่ เมื่อภิกษุตัดรุกขชาติ มีหญ้า ต้นไม้และเถาวัลย์
เป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ยังสดก็ตาม แห้งก็ตาม เป็นทุกกฏเหมือนกัน
เพราะมีความพยายาม.

[

อาบัติทุกกฏ 8 อย่าง

]
จริงอยู่ พระเถระทั้งหลายประมวลชื่อทุกกฏ 8 อย่างนั้นมาแสดงไว้
ในที่นี้แล้ว คือบุพปโยคทุกกฏ 1 สหปโยคทุกกฏ 1 อนามาสทุกกฏ 1
ทุรุปจิณณทุกกฏ 1 วินัยทุกกฏ 1 ญาตทุกกฏ 1 ญัตติทุกกฏ 1 ปฏิสสวทุกกฏ 1

บรรดาทุกกฏ 8 อย่างนั้น ทุกกฏที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ภิกษุมี
ไถยจิตเที่ยวแสวงหาเพื่อนจอบหรือตะกร้าก็ตาม เดินไปก็ตาม ต้องอาบัติทุกกฏ
นี้ ชื่อบุพปโยคทุกกฏ. จริงอยู่ ในพระดำรัสที่ตรัสไว้นี้ ในฐานะแห่งทุกกฏ
ก็เป็นทุกกฏ ในฐานะแห่งปาจิตตีย์ ก็เป็นปาจิตตีย์โดยแท้.
ทุกกฏที่พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ว่า ภิกษุตัดไม้หรือเถาวัลย์ที่เกิดอยู่บน
พื้นดินนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ นี้ ชื่อว่าสหปโยคทุกกฏ. ในพระดำรัสที่ตรัส
ไว้นี้ วัตถุแห่งปาจิตตีย์และวัตถุแห่งทุกกฏ ก็ตั้งอยู่ในฐานะแห่งทุกกฏเหมือน
กัน. เพราะเหตุไร ? เพราะการลักเป็นไปพร้อมกับความพยายาม.
อนึ่ง ทุกกฏ ที่พระองค์ปรับไว้แก่ภิกษุผู้จับต้องรัตนะ 10 1 อย่าง
ข้าวเปลือก 7 2 อย่าง และเครื่องศัสตราวุธเป็นต้นทั้งหมด นี้ ชื่ออนามาส
ทุกกฏ.
ทุกกฏ ที่พระองค์ปรับไว้แก่ภิกษุผู้จับต้องบรรดาผลไม้ทั้งหลายมี
กล้วยและมะพร้าวเป็นต้น ผลที่เกิดในที่นั้น นี้ ชื่อทุรุปจิณณทุกกฏ.
อนึ่ง ทุกกฏที่พระองค์ปรับไว้แก่ภิกษุผู้ที่เที่ยวบิณฑบาต ไม่รับประเคน
หรือไม่ล้างบาตรในเมื่อมีผงธุลีตกลงไปในบาตร ก็รับภิกษาในบาตรนั้น นี้
ชื่อวินัยทุกกฏ.
ทุกกฏที่ว่า พวกภิกษุได้ฟัง ( เรื่องตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ )
แล้วไม่พูด ต้องอาบัติทุกกฏ นี้ ชื่อญาตทุกกฏ.
//1. รัตนะ 10 อย่าง คือ แก้วมุกดา 1 แก้วมณี 1 เวฬุริยะ ไพฑูรย์ 1 สังข์ หอยสังข์ 1
//ศิลา 1 ปวาฬะ แก้วประพาฬ 1 รัชตะ เงิน 1 ชาตรูปะ ทองคำ 1 โลหิตังคะ ทับทิม 1
//มสาคัลละ แก้วลาย 1.
//2. ข้าวเปลือก 7 อย่าง คือ สาลิ ข้าวสาลี 1 วีหิ ข้าวเปลือก 1 ยวะ ข้าวเหนียว 1 กังคุ
//ข้าวฟ่าง 1 กุทรูสกะ หญ้ากับแก้ 1 วรกะ ลูกเดือย 1 โคธุมะ ข้าวละมาน 1. นัยสารัตถ-
//ทีปนี. 2/205 - 6.

ทุกกฏที่ตรัสไว้ว่า เป็นทุกกฏเพราะญัตติ ในบรรดาสมนุภาสน์
11 อย่าง นี้ ชื่อญัตติทุกกฏ.
ทุกกฏที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้น
ไม่ปรากฏ และเธอย่อมต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ* นี้ชื่อปฏิสสวทุกกฏ.
ส่วนสหปโยคทุกกฏ (คือต้องทุกกฏพร้อมด้วยความพยายาม) ดังต่อ
ไปนี้ :- เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า เมื่อภิกษุตัดรุกขชาติมีหญ้าต้นไม้
และเถาวัลย์เป็นต้นชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ยังสดก็ตาม แห้งก็ตาม เป็นทุกกฏ
เหมือนกัน เพราะมีความพยายาม. ก็ถ้าแม้เมื่อภิกษุนั้น ตัดรุกขชาติมีหญ้า
ต้นไม้ และเถาวัลย์เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นในที่นั้น ลัชชีธรรม ย่อมหยั่งลง
ความสังวรเกิดขึ้น เธอแสดงทุกกฏ เพราะการตัดเป็นปัจจัยแล้ว ย่อมพ้นได้.
ถ้าเธอไม่ทอดธุระ ยังมีความขะมักเขม้นขุดดินอยู่ทีเดียว ทุกกฏเพราะการตัด
ย่อมระงับไป เธอย่อมตั้งอยู่ในทุกกฏเพราะการขุด. ด้วยว่า ภิกษุแม้เมื่อขุด
แผ่นดินเป็นอกัปปิยะ ย่อมต้องทุกกฏนั่นแล ในอธิการว่าด้วยการขุดดินนี้
เพราะมีความพยายาม. ก็ถ้าเธอขุดในทุกทิศเสร็จสรรพแล้ว แม้จนถึงที่ตั้ง
หม้อทรัพย์ ลัชชีธรรมหยั่งลง เธอแสดงทุกกฏเพราะการขุดเป็นปัจจัยเสียแล้ว
ย่อมพ้น ( จากอาบัติ ) ได้.
บทว่า วิยูหติ วา มีความว่า ก็ถ้าภิกษุยังมีความขะมักเขม้นอยู่
อย่างเดิม คุ้ยดินร่วน ทำเป็นกองไว้ในส่วนข้างหนึ่ง ทุกกฏเพราะการขุดย่อม
ระงับไป เธอย่อมตั้งอยู่ในทุกกฏเพราะการคุ้ย. ก็เมื่อเธอทำดินร่วนนั้นให้เป็น
กองไว้ในที่นั้น ๆ ย่อมต้องทุกกฏทุก ๆ ประโยค. แต่ถ้าเธอทำเป็นกองไว้แล้ว
ทอดธุระเสีย ถึงลัชชีธรรม แสดงทุกกฏ เพราะการคุ้ยเสียแล้วย่อมพ้น
( จากอาบัติ ) ได้.
//* วิ. มหาวรรค. 4/302.

บทว่า อุทฺธรติ วา มีความว่า ก็ถ้าภิกษุยังมีความขะมักเขม้นอยู่
โกยดินร่วนขึ้นให้ตกไปในภายนอก ทุกกฏเพราะการคุ้ย ย่อมระงับไป เธอ
ย่อมตั้งอยู่ในทุกกฏเพราะการโกยขึ้น. ก็เมื่อเธอใช้จอบก็ตาม มือทั้งสองก็ตาม
บุ้งกี๋ก็ตาม สาดดินร่วนให้ตกไปในที่นั้น ๆ ย่อมต้องทุกกฏทุก ๆ ประโยค.
แต่ถ้าเธอนำดินร่วนทั้งหมดออกไปเสียแล้ว จนถึงทำหม้อทรัพย์ให้ตั้งอยู่บนบก
ประจวบกับลัชชีธรรม ครั้นแสดงทุกกฏเพราะการโกยขึ้นเสียแล้ว ย่อมพ้น
(จากอาบัติ) ได้. แต่ถ้าเธอยังความขะมักเขม้นอยู่นั่นแหละ จับต้องหม้อทรัพย์
ทุกกฎเพราะการโกยขึ้นย่อมระงับไปเธอย่อมตั้งอยู่ในทุกกฏเพราะการจับต้อง.
ก็แลครั้นจับต้องแล้ว ประจวบกับลัชชีธรรม แสดงทุกกฏเพราะการจับต้อง
เสียแล้ว ย่อมพ้น ( จากอาบัติ ) ได้. ถ้าเธอยังมีความขะมักเขม้นอยู่ต่อไป
ทำหม้อทรัพย์ให้ไหว ทุกกฏเพราะการจับต้อง ย่อมระงับไป เธอย่อมตั้งอยู่
ในถุลลัจจัย ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ดังนี้.

[

อรรถาธิบายคำว่าทุกกฏและถุลลัจจัย

]
ทุกกฏและถุลลัจจัยแม้ทั้งสอง ที่ตรัสไว้ในพระบาลีนั้น มีเนื้อความ
เฉพาะคำดังต่อไปนี้ บรรดาทุกกฏและถุลลัจจัยทั้งสองนี้ ถึงทราบทุกกฏที่
หนึ่งก่อน ความทำชั่ว คือ ความทำให้ผิดจากกิจที่พระศาสดาตรัส เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าทุกกฏ. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่าทุกกฏ เพราะอรรถวิเคราะห์แม้อย่างนี้
บ้างว่า ความทำชั่ว คือ กิริยานั้นผิดรูป ย่อมไม่งามในท่ามกลางแห่งกิริยาของ
ภิกษุ. จริงอยู่ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า
ก็โทษใดที่เรากล่าวว่า ทุกกฏ ท่าน
จงฟังโทษนั้น ตามที่กล่าว, กรรมใดเป็น